เหรียญรุ่นแรก สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช วัดอรุณ ปี 2506
วัตถุมงคลคณาจารย์ รุ่นต่างๆ
ด้านหน้า เหรียญรุ่นแรก สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช วัดอรุณ ปี 2506
เหรียญรุ่นแรก สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช วัดอรุณ ปี 2506
เหรียญ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช วัดอรุณ ปี 2506 จัดสร้างขึ้นโดย ท่านสมเด็จพระพุฒาจารย์ (วน ฐิติญาโณ) อดีตเจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม รูปที่ ๑๑ พิธีปลุกเสกเหรียญรุ่นนี้ในครั้งนั้นน่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง ท่านที่ศัทธาในองค์สมเด็พระเจ้าตากสินไม่ควรพลาด เพราะพิธีปลุกเสกในครั้งนั้นทางวัดอรุณ โดยท่านสมเด็จพระพุฒาจารย์(วน) เจ้าอาวาสวัดอรุณในสมัยนั้น ท่านได้นิมนต์พระเกจิอาจารย์ผู้เรืองวิทยาคมในยุคนั้นถึง 108 รูป มาร่วมทำพิธีพุทธาภิเษกเหรียญรุ่นนี้ไว้อย่างเต็มเปี่ยม โดยมีหลวงพ่อท่านคล้าย วาจาสิทธิ์ แห่งวัดสวนขัน เมตตามาเป็นประธานในพิธีปลุกในครั้งนั้น
ด้านหลัง เหรียญรุ่นแรก สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช วัดอรุณ ปี 2506
และยังมีพระเกจิอาจารย์ ผู้เข็มขลังในสมาธิจิตในยุคนั้นอีกหลายรูปเช่น 1. หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม จ.นครปฐม 2. หลวงปู่นาค วัดระฆัง กรุงเทพฯ 3. หลวงพ่อทอง วัดจักรวรรดิ์ 4. หลวงปู่เทียน วัดโบสถ์ ปทุมธานี 5. หลวพ่อเนื่อง วัดจุฬามณี 6. หลวงพ่อเต๋ คงทอง วัดสามง่าม 8. หลวงพ่อแทน วัดธรรมเสน 9.หลวงพ่อเส่ง วัดกัลยาฯ 10.หลวงพ่อเล็ก วัดเขาดิน 11.หลวงพ่อเอีย วัดบ้านด่าน 12.หลวงปู่เทียม วัดกษัตราธิราช 13.หลวงพ่อโด่ วัดนามะตูม เป็นต้น จึงทำให้เหรียญรุ่นแรก สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช วัดอรุณ ปี 2506 รุ่นนี้ น่าใช้ น่าเลี่ยมขึ้นคอเ ป็นอย่างยิ่ง
สมเด็จพระพุฒาจารย์ (วน ฐิติญาโณ) อดีตเจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม รูปที่ ๑๑
ประวัติ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (วน ฐิติญาโณ) อดีตเจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม รูปที่ ๑๑
สมเด็จพระพุฒาจารย์ นามเดิม วน นามฉายา ฐิติญาโณ เป็นชาวเพชรบุรี เกิดในรัชกาลที่ ๕ เมื่อปีมะเมีย วันพุธที่ ๒๕ เมษายน พ.ศ. ๒๔๓๗ (แรม ๘ ค่ำ เดือน ๕) ในปี ๒๔๔๔ ขณะนั้นท่านอายุได้ ๗ ปี ได้ติดตามโยมบิดไปอยู่เมืองปราณบุรี เรียนภาษาไทยกับท่านพระครูสุทธาจารคุณ (อ่ำ) วัดนาห้วย ครั้งยังเป็นพระอาจารย์อ่ำ ในปีเถาะ พ.ศ. ๒๔๔๖ โยมบิดาได้ฝากเป็นศิษย์ของพระอาจารย์แก้ว (ชาวเพชรบุรี) ที่วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร จังหวัดพระนคร ได้เรียนภาษาบาลีกับพระมหาถนอม อคฺคปญฺโญ ต่อมาได้ฝากตัวเป็นศิษย์
ด้านหน้า เหรียญรุ่นแรก สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช วัดอรุณ ปี 2506
พระครูฌาณภิรัต (โป๊ะ) วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม เรียนภาษาไทยและภาษาบาลีที่โรงเรียนกล่อมพิทยากร พออายุได้ ๑๕ ปี ได้บรรพชา โดยมีพระอาจารย์หมก วัดพระเชตุพนฯ เป็นพระอุปัชฌาย์ ในปีฉลู พ.ศ. ๒๔๕๖ เข้าสอบพระปริยัติธรรมได้เป็นเปรียญ ๓ ประโยค ในปีขาล พ.ศ. ๒๔๕๗ ได้กลับไปอุปสมบท ณ วัดนาห้วย เมืองปราณบุรี มีพระอาจารย์เดิม เป็นพระอุปัชฌาย์ สมเด็จพระวันรัต (เผื่อน ติสฺสทตฺโต) สมัยทรงสมณศักดิ์เป็นพระศากบุตติยวงศ์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ เมื่องบวชแล้วได้กลับมาอยู่ที่วัดพระเชตุพนฯ ตามเดิม ได้เป็นครูสอนพระปริยัติธรรมของสำนัก ต่อมาสอบได้เป็นเปรียญ ๖ ประโยค
ด้านหลัง เหรียญรุ่นแรก สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช วัดอรุณ ปี 2506
และสอบนักธรรมเอกได้เป็นรุ่นแรก ในปีวอก พ.ศ. ๒๔๖๔ ในรัชกาลที่ ๗ ได้ทรงตั้งให้เป็น พระวิเชียรธรรมคุณาธาร ตำแหน่งผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ในปีกุน พ.ศ. ๒๔๗๘ ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าคณะมณฑลปราจีนบุรี ในปีขวด พ.ศ. ๒๔๗๙ ได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระอาจารย์เอกทางแสดงพระธรรมเทศนา ในปีเถาะ พ.ศ. ๒๔๘๓ ได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นราชในนามเดิม และผู้รักษาการเจ้าคณะมณฑลปราจีนบุรี ในปีจอ พ.ศ. ๒๔๘๙ เมื่อพระพิมลธรรม (นาค) เจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร มรณภาพได้ ๑ ปี ระหว่างนั้นพระศากยบุตติยวงศ์ (อยู่) รักษาการเจ้าอาวาสอยู่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ทรงโปรดให้มาดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม ในปีกุน พ.ศ. ๒๔๙๐ ได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็น พระเทพมุนี ในปีฉลู พ.ศ. ๒๔๙๒ ได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็น พระธรรมไตรโลกาจารย์
รวมเหรียญรุ่นแรก สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช วัดอรุณ ปี 2506
ในปีฉลู พ.ศ. ๒๕๐๔ ได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นรองสมเด็จ ที่ พระธรรมปัญญาบดี ในปีเถาะ พ.ศ. ๒๕๐๖ (๔ พฤษภาคม ๒๕๐๖) ได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็นสมเด็จพระพุฒาจารย์ในปีมะเส็ง พ.ศ. ๒๕๐๘ สมเด็จพระอริยวงศาตตญาณ (อยู่ ญาณทยมหาเถร) สมเด็จพระสังฆราชวัดสระเกศ ได้สิ้นพระชนม์ ทางราชการจึงได้ประกาศแต่งตั้งให้ท่านเป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช กระทั่งได้มีพระบรมราชโองการสถาปนา สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (จวน อุฏฺฐายีมหาเถร) วัดมกุฏกษัตริยาราม เป็นสมเด็จพระสังฆราช เมือวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๐๘ ได้มรณภาพด้วยโรคอัมพาต เส้นโลหิตในสมองอุดตัน เมื่อวันที่ ๑๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๐ รวมสิริอายุได้ ๘๓ ปี ๖ เดือน ๒๔ วัน ประกอบพิธีพระราชทานเพลิงศพ ณ เมรุหน้าพลับพลาอิสริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส เมื่อวันที่ ๓ กรกฏาคม พ.ศ. ๒๕๒๑
ด้านหน้า เหรียญรุ่นแรก สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช วัดอรุณ ปี 2506
ประวัติวัดอรุณราชวราราม
วัดอรุณราชวรารามเป็นวัดโบราณ สร้างในสมัยอยุธยา ว่ากันว่าเดิมเรียกว่า วัดมะกอก และกลายเป็นวัดมะกอกนอกในเวลาต่อมา เพราะได้มีการสร้างวัดขึ้นอีกวัดหนึ่งในตำบลเดียวกัน แต่อยู่ในคลองบางกอกใหญ่ ชาวบ้านเรียกวัดที่สร้างใหม่ว่า วัดมะกอกใน (วัดนวลนรดิศ) แล้วจึงเรียกวัดมะกอกซึ่งอยู่ปากคลองบางกอกใหญ่ว่า วัดมะกอกนอก ส่วนเหตุที่มีการเปลี่ยนชื่อเป็นวัดแจ้งนั้น เชื่อกันว่า เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงตั้งราชธานีที่กรุงธนบุรีใน พ.ศ. 2310 ได้เสด็จมาถึงหน้าวัดนี้ตอนรุ่งแจ้ง จึงพระราชทานชื่อใหม่ว่าวัดแจ้ง แต่ความเชื่อนี้ไม่ถูกต้อง เพราะเพลงยาวหม่อมภิมเสน วรรณกรรม สมัยอยุธยาที่บรรยายการเดินทางจากอยุธยาไปยังเพชรบุรี
ด้านหลัง เหรียญรุ่นแรก สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช วัดอรุณ ปี 2506
ได้ระบุชื่อวัดนี้ไว้ว่าชื่อวัดแจ้งตั้งแต่เวลานั้นแล้ว เมื่อสมเด็จพระเจ้ตากสินมหาราชโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระราชวังที่ประทับนั้น ทรงเอาป้อมวิชัยประสิทธิ์ข้างฝั่งตะวันตกเป็นที่ตั้งตัวพระราชวัง แล้วขยายเขตพระราชฐานจนวัดแจ้งเป็นวัดภายในพระราชวัง เช่นเดียวกับวัดพระศรีสรรเพชญ์สมัยอยุธยา และเป็นที่ประดิษฐานพระแก้วมรกตที่อัญเชิญมาจากเวียงจันทน์ใน พ.ศ. 2322 ก่อนที่จะย้ายมาประดิษฐานที่วัดพระศรีรัตนศาสดารามใน พ.ศ. 2327 ในสมัยรัตนโกสินทร์ รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร ได้เสด็จมาประทับที่พระราชวังเดิม และได้ทรงปฏิสังขรณ์วัดแจ้งใหม่ทั้งวัด แต่ยังไม่ทันสำเร็จก็สิ้นรัชกาลที่ 1 สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทรได้เสด็จขึ้นครองราชสมบัติเป็นพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
ขอขอบคุณ คุณวิทย์ วัดอรุณ สำหรับภาพวัตถุมงคลทั้งหมด
พระองค์ได้ทรงบูรณปฏิสังขรณ์วัดแจ้งต่อมา และพระราชทานนามใหม่ว่า “วัดอรุณราชธาราม” ต่อมามีพระราชดำริที่จะเสริมสร้างพระปรางค์หน้าวัดให้สูงขึ้น แต่สิ้นรัชกาลเสียก่อน จนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้เสริมพระปรางค์ขึ้นและให้ยืมมงกุฎที่หล่อสำหรับพระพุทธรูปทรงเครื่องที่จะเป็นพระประธานวัดนางนองมาติดตอบนยอดนภศูล ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้บูรณปฏิสังขรณ์วัดอรุณราชธารามหลายรายการ และให้อัญเชิญพระบรมอัฐิของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยมาบรรจุไว้ที่พระพุทธอาสน์ของพระประธานในพระอุโบสถด้วย เมื่อการปฏิสังขรณ์เสร็จสิ้นลง พระราชทานนามวัดใหม่ว่า “วัดอรุณราชวราราม”
เรียบเรียงโดย แว่น วัดอรุณ
หนังสือพิมพ์กะฉ่อนดอทคอม ทีมงาน วิทย์ วัดอรุณ รายงาน
รวมวัตถุมงคลอันศักดิ์สิทธิ์ที่ท่านพระเกจิอาจารย์ผู้เรืองวิทยาคมของวัดอรุณราชวราราม ได้เคยสร้างไว้ในอดีต
ทีมงานกะฉ่อนพระเครื่องมีเจตนาที่จะขอร่วมอนุรักษ์และรวบรวมพระเครื่องพระพิมพ์ต่างๆของวัดอรุณ ที่ท่านพระเกจิอาจารย์ในยุคก่อนๆของวัดอรุณได้สร้างไว้ เพื่อเป็นอนุสรณ์และเกียรติประวัติแด่ท่านพระเกจิอาจารย์ของวัดอรุณในอดีต และจะเป็นมาตรฐานในการศึกษาค้นคว้าต่อไปของอนุชนรุ่นหลังที่สนใจในวัตถุมงคลของสายวัดอรุณ ทีมงานกะฉ่อนพระเครื่องขอขอบคุณ คุณวิทย์ วัดอรุณ(อัครวิทย์ รัตนประสิทธิ์) ที่ได้ให้ข้อมูลเชิงลึกบางส่วนที่ท่านได้ฟังจากคุณลุงกวี อรรถโกวิทซึ่งคุณลุงกวี ท่านก็ได้ฟังตกทอดมาจากคุณปู่กร อรรถโกวิท พ่อของท่าน ซึ่งเป็นคนเก่าคนแก่ผู้รู้จริงและทันในเหตุการสร้างวัตถุมงคลหลายๆพิธีของวัดอรุณ และได้เอื้อเฟื้อภาพวัตถุมงคแท้ๆของวัดอรุณ ที่หาชมได้ยากแล้วในปัจจุบันนี้
1.เหรียญพระปรางค์ วัดอรุณ ปี 2489
เป็นเหรียญที่สร้างครั้งแรกในคราวที่สมเด็จพระพุฒาจารย์(วน) ขึ้นดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสวัดอรุณฯ จากการที่ท่านเป็นคนเพชรบุรีอีกทั้งยังเป็นศิษย์น้องของท่านหลวงพ่อแดง วัดเขาบันไดอิฐ เหรียญรุ่นนี้จึงได้นิมนต์ท่านพระครูญาณวิลาศ (แดง)วัดเขาบันไดอิฐ มาอธิษฐานจิตและปลุกเสกให้ และยังมีเกจิผู้เรืองวิทยาคมในยุคนั้นอีกมากมายถึง 108 รูปเพราะในปีพ.ศ. 2489 เป็นปีที่มีการสมโภชฉลองการบูรณปฏิสังขรณ์พระปรางค์วัดอรุณด้วย โดยเฉพาะสายวัดสุทัศก็มากันครบทีม เช่นท่านเจ้าคุณศรี(สนธิ์) ผู้สร้างตำนานพระกริ่งต่อจากสมเด็จพระสังฆราชแพ วัดสุทัศน์ เป็นต้นจึงนับได้ว่าเป็นเหรียญที่ทรงคุณค่าเป็นอย่างยิ่งทั้งในแง่ประวัติศาสตร์และบารมีของหลวงพ่อแดง แห่งวัดเขาบันไดอิฐและสมเด็จพระพุฒาจารย์(วน) แห่งวัดอรุณ เหรียญพระปรางค์ วัดอรุณราชวราราม รุ่นแรก ปี 2489 คลิ๊ก
เหรียญรุ่นแรก สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช วัดอรุณ ปี 2506
2.เหรียญรุ่นแรก สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช วัดอรุณ ปี 2506
พิธีปลุกเสกเหรียญรุ่นนี้น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง ท่านที่ศัทธาในองค์สมเด็จพระเจ้าตากสินไม่ควรพลาด พิธีปลุกเสกในครั้งนั้นทางวัดอรุณ โดยท่านสมเด็จพระพุฒาจารย์(วน) เจ้าอาวาสวัดอรุณฯในสมัยนั้น ท่านได้นิมนต์พระเกจิอาจารย์ผู้เข็มขลังในพุทธาคมในยุคนั้นถึง 108 รูป มาทำพิธีพุทธาภิเษกเหรียญรุ่นนี้ไว้อย่างเต็มเปี่ยม จึงทำให้เหรียญรุ่นแรก สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช วัดอรุณ ปี 2506 รุ่นนี้ น่าใช้ น่าเลี่ยมขึ้นคอเ ป็นอย่างยิ่ง เหรียญรุ่นแรก สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช วัดอรุณ ปี 2506 คลิ๊ก
พระชัยวัฒน์พระครูลืม วัดอรุณ
3.พระชัยวัฒน์พระครูลืม วัดอรุณ
วัตถุมงคลของท่านพระครูลืมนั้น พระครูภาวนาวิจารณ์ (ลืม)ท่านได้สร้าง พระชัยวัฒน์พระครูลืม วัดอรุณ ซึ่งเป็นหนึ่งในห้าเบญจภาคีพระชัยวัฒน์ โดยท่านพระครูลืมท่านเป็นศิษย์ในสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์(ฤทธิ์ ธมฺมสิริ) วัดอรุณราชวรารามและสมเด็จพระสังฆราชแพ วัดสุทัศน์ เป็นศิษย์ร่วมสำนักกับท่านเจ้าคุณศรี(สนธิ์) ท่านจึงได้รับความเมตตาจากสมเด็จพระสังฆราชแพ วัดสุทัศน์เป็นอย่างมาก เมื่อครั้งที่ท่านได้คิดที่จะสร้างพระชัยวัฒน์นั้น สมเด็จพระสังฆราชแพ วัดสุทัศน์ จึงได้มอบชนวนพระกริ่งของท่านแก่ท่านพระครูลืมเพื่อเป็นมวลสารในการหล่อพระชัยวัฒน์พระครูลืม วัดอรุณ และท่านสมเด็จสังฆราชแพและท่านเจ้าคุณศรี(สนธิ์) ยังได้ร่วมปลุกเสก พระชัยวัฒน์พระครูลืม วัดอรุณให้ด้วยทำเนียบเบญจภาคีพระชัยวัฒน์นั้นประกอบไปด้วย 1.พระชัยวัฒน์ท่านเจ้ามา วัดจักรวรรดิ 2.พระชัยวฒน์หลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว 3.พระชัยวัฒน์สมเด็จสังฆราชแพ วัดสุทัศน์ 4.พระชัยวัฒน์หลวงปู่เอี่ยม วัดหนัง 5.พระชัยวัฒน์พระครูลืม วัดอรุณ( แจ้ง) พระชัยวัฒน์ พระครูลืม วัดอรุณ หนึ่งในห้าเบญจภาคีพระชัยวัฒน์ คลิ๊ก
4.พระผงน้ำมันวัดอัมพวา คุณค่าระดับ'พระสมเด็จ'
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ฤทธิ์) วัดอรุณได้สร้างพระผงน้ำมันนี้ขณะครองวัดอรุณฯ แล้วนำไปบรรจุไว้ที่วัดอัมพวา เมื่อครั้งที่ท่านได้ไปบูรณะวัดนี้ราวปี ๒๔๕๐ เนื่องจากท่านเกิดและเติบโตบริเวณวัดอัมพวา ซึ่งในขณะนั้นมีสภาพใกล้เป็นวัดร้างเต็มที นอกจากนี้ท่านเจ้าประคุณยังได้นำชุดนี้ไปบรรจุกรุอีกหลายวัด ย่านบ้านช่างหล่อ พรานนก ซึ่งเป็นวัดที่เกี่ยวข้องกับท่านเจ้าประคุณทั้งสิ้น เช่น วัดนาคกลาง วัดดงมูลเหล็ก รวมทั้งที่กรุเจดีย์เล็กวัดอรุณฯ ซึ่งถูกขโมยเจาะเจดีย์เพื่อล้วงเอาพระมาแล้วครั้งหนึ่งในคืนฝนตก เมื่อปี ๒๕๐๓แต่พระชุดนี้ชาวบ้านและวงการพระเครื่องเรียกกันจนคุ้นหูว่า พระผงน้ำมันวัดอัมพวา เนื่องจากมีการเปิดกรุอย่างเป็นทางการครั้งแรกที่วัดนี้ เมื่อปี ๒๔๘๔ คราวสงครามโลกครั้งที่ ๒ โดยพระครูแป้น รชโฏ เจ้าอาวาสวัดอัมพวา ครั้งนั้นได้นำพระออกมาแจกเพื่อบำรุงขวัญทั้งทหาร ตำรวจ และชาวบ้านในย่านนั้น ซึ่งอยู่ใกล้กับสถานีรถไบางกอกน้อย อันเป็นที่ตั้งกองกำลังสำคัญของทหารญี่ปุ่น เป็นจุดยุทธศาสตร์ที่ถูกเครื่องบินทิ้งระเบิดไม่เว้นแต่ละวัน ว่ากันว่า คนที่มีพระผงน้ำมันวัดอัมพวา รอดตายจากเหตุการณ์สงครามครั้งนั้นทุกคน
5.พระสมเด็จวัดอรุณราชวราราม ปี 09 หลังตราแผ่นดินเล็ก(ผสมพระสมเด็จวัดระฆังและพระสมเด็จวัดบางขุนพรหมที่แตกหัก)
ในปี พ.ศ. 2509 ทางวัดอรุณโดย ท่านสมเด็จพระพุฒาจารย์(วน) อดีตเจ้าอาวาสวัดอรุณในสมัยนั้นได้จัดพิธีมหาพุทธาภิเษกขึ้นที่ วัดอรุณราชวราราม เป็นพิธียิ่งใหญ่มากในสมัยนั้น โดยทางวัดอรุณได้นิมนต์พระเกจิอาจารย์จากทั่วประเทศจำนวน 108 รูปและตามใบฝอยของวัดในสมัยนั้นยังระบุไว้อย่างชัดเจนถึงพระเกจิอาจารย์รูปที่ 109 ที่ไม่ได้มาในพิธีแต่ได้ร่วมปลุกอยู่ที่วัดของท่านโดยจะส่งกระแสจิตมาร่วมปลุกเสกในพิธีนี้ พระเกจิอาจารย์รูปที่ 109 ท่านนั้นก็คือ ท่านเจ้าคุณนรรัตน์ราชมานิตย์ วัดเทพศิรินทราวาส กทม ส่วนมวลสารผสมผงศักดิ์สิทธิ์จากทั่วประเทศ(ตามแจ้งในใบฝอยของทางวัด) ระบุว่าสร้างเพื่อเป็นอนุสรณ์ในวาระครบ 100 ปี ของพระเครื่องสมเด็จฯพระพุฒาจารย์ฯ (โต ) พรหมรังษี โดยทางวัดอรุณได้ผสมมวลสารจาก ผงจากพระสมเด็จวัดระฆังที่แตกหัก ผงจากพระสมเด็จวัดบางขุนพรหมที่แตกหัก ผงจากพระสมเด็จวัดเกศไชโยที่แตกหัก โดยเฉพาะผงจากพระสมเด็จวัดบางขุนพรหมที่แตกหักนั้นในใบฝอยของวัดอรุณในสมัยนั้นระบุไว้อย่างชัดเจนว่า ผสมลงในพระสมเด็จวัดอรุณรุ่นนี้อย่างเข้มข้น จุดสังเกตุของพระสมเด็จ วัดอรุณรุ่นนี้คือ ด้านหลังพระสมเด็จรุ่นนี้จะประทับตราแผ่นดิน(เล็ก) ไว้ทุกองค์ พระสมเด็จวัดอรุณราชวราราม ปี 09 หลังตราแผ่นดินเล็ก คลิ๊ก
6.พระสมเด็จ หลวงตาจันทร์ วัดอรุณ ปี พ.ศ. 2493
พระสมเด็จ วัดอรุณ ปี พ.ศ. 2493 รุ่นนี้ได้สร้างและปลุกเสกโดยเกจิอาจารย์ผู้เรืองวิทยาคมถึงสองรูปคือ ท่านหลวงตาจันทร์ วัดอรุณและท่านหลวงปู่เผือก วัดกิ่งแก้ว จังหวัดสมุทรปรการ เพราะท่านหลวงตาจันทร์ คณะ 4 วัดอรุณ องค์นี้ท่านเป็นสหธรรมมิกที่มีความสนิทสนมกับท่านหลวงปู่เผือก วัดกิ่งแก้ว จังหวัดสมุทรปรการ เป็นอย่างมาก ถึงขนาดถ้าท่านหลวงปู่เผือกมากิจนิมนต์หรือมาธุระในกรุงเทพแล้ว ท่านหลวงปู่เผือก วัดกิ่งแก้ว ท่านจะต้องมาจำพรรษาที่ คณะ 4 วัดอรุณ เพื่อแลกเปลี่ยนวิชากับท่านหลวงตาจันทร์อยู่เป็นประจำ ซึ่งพระพิมพ์พระสมเด็จของท่านหลวงตาจันทร์ วัดอรุณ หลายๆพิมพ์ก็จะไปเหมือนพระพิมพ์พระสมเด็จหลวงปู่เผือก วัดกิ่งแก้ว อย่างไม่ผิดเพี้ยน จะต่างก็ตรงใต้ฐานพระพิมพ์สมเด็จของท่านหลวงตาจันทร์ จะมีขีดตรงแนวดิ่งที่กลางเส้นกรอบด้านล่างขององค์พระ เซียนพระในสมัยก่อนจะเอาพระสมเด็จของท่านไปลบรอยขีดออกเพื่อเอาไปเล่นหาเป็น พระสมเด็จของหลวงปู่เผือกวัดกิ่งแก้ว เพราะมีราคาเช่าหาที่แพงกว่า พระสมเด็จ หลวงตาจันทร์ วัดอรุณ ปี พ.ศ. 2493 คลิ๊ก
7.เหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชชาววัดอรุณ รุ่นกรุงธนบุรี ปี 2561
เหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชชาววัดอรุณ รุ่นกรุงธนบุรี ปี 2561 จัดสร้างโดยพระเดชพระคุณหลวงพ่อ พระธรรมรัตนดิลก กรรมการมหาเถรสมาคม เจ้าคณะภาค๙ เจ้าอาวาสวัดอรุณ รูปปัจจุบัน เป็นเหรียญพระเจ้าตากสินมหาราชแห่งประวัติศาสตร์ ที่จัดสร้างขึ้นในวาระฉลองกรุงธนบุรี มีอายุครบรอบ 250 ปี เป็นครั้งประวัติศาสต์ของวัดอรุณราชวรารามที่จัดให้พิธีบวงสรวงหน้าองค์พระปรางค์วัดอรุณ ด้านทิศตะวันออก ซึ่งมีความเชื่อมาแต่ครั้งโบราณว่า คือจุดศูนย์รวมพลังแห่งทวยเทพที่ปกปักรักษาองค์พระปรางค์วัดอรุณ ซึ่งบนยอดพระปรางค์วัดอรุณนั้นได้มีการอัญเชิญองค์พระบรมสารีริกธาตุบรรจุไว้แต่ครั้งโบราณกาล ซึ่งส่งผลให้พิธีบวงสรวงในครั้งนั้นเกิดปรากฏการณ์มหัศจรรย์ พระอาทิตย์ทรงกรดต่อหน้าผู้คนนับพันที่เข้าร่วมในพิธี
และจัดให้มีพิธีมหาพุทธา-มหาเทวาภิเศกใหญ่ที่สุดในรอบ 250 ปี ณ พระอุโบสถน้อย ที่ประดิษฐานพระรูปสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช วัดอรุณราชวราราม โดยสุดยอดพระเกจิอาจารย์ผู้เรืองวิทยาคมในยุคปัจจุบัน เป็นเหรียญพระเจ้าตากแห่งตำนานประวัติศาสตร์นับตั้งแต่มีการสร้างกรุงธนบุรีเป็นราชธานี เหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชชาววัดอรุณ รุ่นกรุงธนบุรี ในวาระฉลองกรุงธนบุรีมีอายุครบรอบการสร้าง ๒๕๐ ปี เป็นเหรียญพระเจ้าตากสินมหาราชที่มากด้วยประสพการณ์แคล้วคลาดปลอดภัย เป็นที่เลื่อมใสศรัทธาแก่ผู้เคารพรักและศรัทธาในพระองค์ท่านที่นำไปห้อยบูชา จนเหรียญทั้งสองรุ่นนี้โด่งดังเป็นข่าวในหน้าสื่อหนังสือพิมพ์หลายฉบับ เป็นที่รู้จักต้องการเสาะแสวงหาของท่านผู้ที่มีใจรักเคารพและศรัทธาในพระองค์ท่านทั่วประเทศและทั่วโลกที่มีพี่น้องคนไทยพักอาศัยอยู่ ประมวลปาฏิหาริย์แห่งเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชชาววัดอรุณ(คลิ๊ก)
8.ตะกรุดหนังหน้าผากเสือ หลวงปู่นาค วัดอรุณ และ 9.ภาพถ่ายติดกระจกข้าวหลามตัด หลวงปู่นาค วัดอรุณ ปี 2475 พร้อมประวัติวิธีการสร้างวัตถุมลคลอันศักดิ์สิทธิ์ของท่าน
หลวงปู่นาคท่านมีความรู้ทั้งในด้านพระปริยัติธรรมและวิปัสสนากรรมฐาน พร้อมทั้งยังมีวิทยาคมสูงมาก ท่านได้ศึกษาวิชาต่างๆ จากหลวงพ่อหว่าง วัดเทียนถวายจนหมดสิ้น ทั้งวิชาลงหนังหน้าผากเสือ วิชาลงผ้าประเจียดแดง ซึ่งเป็นที่ลือเลื่องของหลวงพ่อหว่าง ขนาดมีนกมาเกาะอยู่ในบริเวณวัด เคยมีคนมาลองยิงยังยิงไม่ออก
ภาพถ่ายข้าวหลามตัด หลวงปู่นาค วัดอรุณ ปี พ.ศ. 2475 ด้านหน้า-ด้านหลัง ของ คุณวิทย์ วัดอรุณ(อัครวิทย์ รัตนประสิทธิ์)
หลวงปู่นาคท่านได้เคยแจกรูปถ่ายติดกระจกข้าวหลามตัดในปี พ.ศ.2475 เนื่องในโอกาสทำบุญครบ 5 รอบอายุ 60 ปี ซึ่งจริงๆแล้วท่านหลวงปู่นาค ท่านไม่มีเจตนาจะสร้างรูปกระจกข้าวหลามตัดนี้เลย แต่ด้วยเพราะบรรดาลูกศิษย์ลูกหาของท่านในสมัยนั้นเห็นว่าปีนี้เป็นงานฉลองวันเกิดครบ 5 รอบอายุ 60 ปีของท่าน และก็อยากจะได้รูปถ่ายของท่านไว้บูชาเพื่อเป็นศิริมงคลกัน
ตะกรุดหนังหน้าผากเสือ หลวงปู่นาค วัดอรุณ แบบมีเชือกควั่นลงรักปิดทอง และแบบไม่มีเชือกควั่นลงรัก ยุคต้นๆของท่านที่ทำแจกหายากมากๆทั้งสองดอกของ คุณวิทย์ วัดอรุณ(อัครวิทย์ รัตนประสิทธิ์)
จึงได้ไปขอให้ท่านหลวงปู่นาคสร้างรูปถ่ายติดกระจกข้าวหลามตัด ท่านหลวงปู่นาคจึงบอกว่าถ้าอย่างนั้นท่านไม่ขอยุ่งเกี่ยว ถ้าอยากได้กันจริงๆก็ให้ไปหาท่านพระอาจารย์พา วัดระฆังเพื่อขอคำแนะนำเพราะท่านพระอาจารย์พา วัดระฆังท่านได้ทำรูปถ่ายติดกระจกข้าวหลามตัดแบบนี้ขึ้นมาก่อนเมื่อปี 2471 เมื่อทำรูปถ่ายติดกระจกข้าวหลามตัดเสร็จแล้ว ลูกศิษย์จึงนำมาถวายท่านหลวงปู่นาคให้ท่านปลุกเสก และแจกในงานฉลองวันเกิดครบ 5 รอบอายุ 60 ปีของท่านดังที่ได้กล่าวมาแล้ว รูปถ่ายติดกระจกข้าวหลามตัด หลวงปู่นาค วัดอรุณ ปี พ.ศ. 2475 คลิ๊ก
ตะกรุดหนังหน้าผากเสือ หลวงปู่นาค วัดอรุณดอกนี้แบบมีเชือกควั่นลงรักปิดทองยุคต้นๆของท่านที่ทำแจกหายากมากๆของ คุณวิทย์ วัดอรุณ
และท่านหลวงปู่นาคท่านยังได้สร้างตะกรุดหนังหน้าผากเสือวัดอรุณ เพื่อไว้แจกแก่ลูกศิษย์ที่ใกล้ชิดจะไม่แจกพร่ำเพรื่อ เพราะตามตำราการทำตะกรุดหนังหน้าผากเสือของท่านหลวงปู่นาคที่ได้รับการถ่ายทอดมาจากหลวงพ่อหว่าง วัดเทียนถวายนั้น ท่านจะต้องทำพิธีปลุกเสกตะกรุดหนังหน้าผากเสือวัดอรุณ ของท่านได้เฉพาะปีที่มีเสาร์ห้าเท่านั้น ซึ่งในสมัยนั้นหากลูกศิษย์ลูกหาคนใดอยากได้ ตะกรุดหนังหน้าผากเสือวัดอรุณของท่านหลวงปู่นาคเอาไว้บูชา
ตะกรุดหลวงปู่นาค วัดอรุณ ที่ชนะการประกวดมาสองงานของ คุณวิทย์ วัดอรุณ
ส่วนใหญ่จะพากันมาสั่งหนังเสือที่ร้านเจ้ากรมเป๋อหน้าวัดสามปลื้ม เหตุเพราะในสมัยนั้นใครมีของป่าและยาสมุนไพรป่าก็จะนิยมนำมาขายหรือฝากขายที่ร้านนี้ เมื่อได้มาแล้วจะนำส่วนหน้าผากของเสือมาตัดแบ่งตามขนาดใหญ่เล็กแล้วแต่ขนาดของหน้าผากเสือที่ได้มา ถ้าเล็กก็ประมาณ 1 นิ้วหากใหญ่ก็ไม่เกิน 2 นิ้วต่อ 1 ชิ้นหนังหน้าผากเสือ
ใบประกาศที่ชนะการประกวด ตะกรุดหลวงปู่นาค วัดอรุณของ คุณวิทย์ วัดอรุณใบที่ 1
ซื่งเสือหนึ่งตัวจะสามารถตัดแบ่งหนังหน้าผากได้ไม่กี่ชิ้น จากนั้นจะนำมาแช่น้ำเพื่อขูดขนออกให้เกลี้ยง แล้วนำมาฝนให้หนังหน้าผากเสือมีความหนาที่บางลง เพื่อง่ายต่อการจารและม้วนเป็นตะกรุด เมื่อได้หนังหน้าผากเสือตามขนาดที่ต้องการแล้วก็จะนำมาถวายให้ท่าน หลวงปู่นาคท่านจะทำพิธีจารอักขระเลขยันต์ตามสูตร เมื่อจารอักขระเลขยันต์เสร็จแล้ว ท่านจะทำการม้วนตะกรุดโดยใช้ด้ายสายสินเล็กๆมาควั่นเพื่อมัดให้หนังเสือแห้งอยู่ตัวไม่คลายออก
ใบประกาศที่ชนะการประกวด ตะกรุดหลวงปู่นาค วัดอรุณของ คุณวิทย์ วัดอรุณใบที่ 2
ซึ่งในยุดหลังๆปลายชีวิตท่านหลวงปู่นาค ท่านจะให้พระเณรหรือลูกศิษย์วัดในกุฎิของท่านทำการควั่นเชือกตะกรุดแทนท่าน เมื่อเสร็จในขั้นตอนนี้แล้วก็จะทำการลงรักเพื่อรักษาให้หนังเสือมีการรัดตัวและมีอายุการใช้งานคงทนยืนนาน ซึ่งหนังเสือที่นำมาลงรักนั้นจะมีทั้งยังมีเชือกที่ควั่นไว้และไม่มีเชือกที่ควั่นไว้ก็มี และมีทั้งการลงรักแล้วปิดทองและไม่ปิดทองก็มี
ตะกรุดหนังหน้าผากเสือ หลวงปู่นาค วัดอรุณของคุณอนุสิษฐ์ บุญมาก ที่ได้รับตกทอดจากคุณตาคุณตามิ่ง(ยังมีชีวิตอยู่) ซึ่งดอกนี้คุณตามิ่งได้รับจากมือท่านหลวงปู่นาค ในสมัยเป็นเด็กวัดที่ตามมารับใช้ท่านที่วัดอรุณหลังงานปลงศพของหลวงพ่อหว่าง วัดเทียนถวายในปี พ.ศ.2476
เมื่อเสร็จสมบูณ์เป็นตะกรุดหนังหน้าผากเสือแล้วท่านหลวงปู่นาค ท่านจะเริ่มปลุกเสกของท่านไปเรื่อยๆเพื่อรอให้ถึงฤกษ์เสาร์ห้าในปีนั้นๆ จึงจะทำพิธีปลุกเสกใหญ่ในวันเสาร์ห้าอีกครั้ง เมื่อเสร็จจากพิธีปลุกเสกใหญ่ในวันเสาร์ห้าแล้ว หลวงปู่นาคท่านจึงจะทำการแจกจ่ายกับศิษย์ที่ศัทธา หรือศิษย์ที่ได้นำหนังหน้าผากเสือฝากมาไว้ให้ท่านทำพิธีให้ จะเห็นได้ว่าด้วยขั้นตอนวิธีการทำที่สลับซับซ้อนของการสร้างตะกรุดหนังหน้าผากเสือของท่าน หลวงปู่นาค วัดอรุณ จึงทำให้ได้ตะกรุดหนังหน้าผากเสือวัดอรุณ ที่มีจำนวนค้อนข้างน้อย
ตะกรุดหนังหน้าผากเสือ หลวงปู่นาค วัดอรุณของลูกชายคุณตาม้วนซึ่งเป็นคุณลุงของคุณอนุสิษฐ์ บุญมาก ที่ได้รับตกทอดจากคุณตาม้วน(เสียชีวิตแล้ว) ซึ่งดอกนี้คุณตาม้วนพี่ชายคนกลางของคุณตามิ่ง ก็ได้รับจากมือท่านหลวงปู่นาค ในสมัยเป็นเด็กวัดที่ตามมารับใช้ท่านที่วัดอรุณหลังงานปลงศพของหลวงพ่อหว่าง วัดเทียนถวายในปี พ.ศ.2476
และมีจำนวนการสร้างที่มีจำนวนจำกัดเป็นอย่างยิ่ง จึงทำให้เป็นที่ใฝ่หาของบรรดาท่านที่นิยมศรัทธาในองค์หลวงปู่นาค วัดอรุณ เป็นอย่างยิ่ง จนในยุคปัจจุบันนี้จะหาตะกรุดหนังหน้าผากเสือวัดอรุณ ของท่านจริงๆชมกันได้ยากยิ่ง ตะกรุดหนังหน้าผากเสือของท่านหลวงปู่นาค วัดอรุณ นั้นเข้มขลังมาก มีประสบการณ์มากมาย ถึงขนาดใครใส่ตะกรุดหนังหน้าผากเสือของท่านเดินผ่านคอกวัวควายในสมัยนั้น วัวควายยังตื่นกลัววิ่งหนีแตกตื่นกันอย่างลนลาน ตะกรุดหนังหน้าผากเสือ พระพิมลธรรม(หลวงปู่นาค วัดอรุณ) วัดอรุณราชวราราม คลิ๊ก
เด็กชายทั้งสามท่านในภาพนี้ เคยไปรับใช้อยู่กับหลวงปู่นาค เริ่มแรกเป็นคุณตากุ ตอนอยู่วัดสุทัศน์ ปี 2463 และตามมาคุณตาม้วน ตามิ่ง ประมาณปี 2476 หลังจัดงานศพท่านอาจารย์ท่าน หลวงปู่สว่าง วัดเทียนถวาย ปทุมธานีทั้งสามท่านนี้เป็นคุณตาของ คุณอนุสิษฐ์ บุญมาก
ป.ล.ขั้นตอนการสร้างตะกรุดหนังหน้าผากเสือของท่านหลวงปู่นาค วัดอรุณ ทั้งหมดที่ได้กล่าวมานี้ เป็นเรื่องที่ผู้เขียนสงสัยมาหลายสิบปี เพราะเป็นเพียงการได้ฟังมาจากคุณลุงกวี อรรถโกวิท ซึ่งท่านก็ฟังมาจากคุณปู่กร อรรถโกวิท ซึ่งเป็นพ่อของท่านอีกที จึงยังมีข้อสงสัยในใจอยู่อีกหลายอย่าง แต่เมื่อได้มารู้จักกับคุณอนุสิษฐ์ บุญมาก ซึ่งคุณตาทั้งสามท่านของคุณอนุสิษฐ์ บุญมาก ท่านเคยมารับใช้ท่านหลวงปู่นาคอยู่ที่วัดอรุณในสมัยที่ท่านหลวงปู่นาคท่านยังมีชีวิตอยู่ คือ 1.คุณตากุ 2.คุณตาม้วน 3.คุณตามิ่ง ก่อนที่พวกท่านและชาวปทุมธานีอีกหลายท่าน จะเดินทางกลับไปอยู่ที่วัดเทียนถวายเมื่อท่านหลวงปู่นาคท่านได้มรณะภาพลง ผู้เขียนจึงได้ไหว้วานขอให้คุณอนุสิษฐ์ บุญมากไปช่วยสอบถามถึงขั้นตอนการสร้างตะกรุดหนังหน้าผากเสือของท่านหลวงปู่นาค วัดอรุณ จากคุณตามิ่งให้อีกครั้ง เพื่อยืนยันถึงสิ่งที่ได้รับรู้มาจากคุณลุงกวี อรรถโกวิท ว่าจะตรงกันหรือไม่(ซึ่งขณะที่ทำการบันทึกนี้ คุณตามิ่งท่านยังมีชีวิตอยู่) ก็ได้ข้อมูลที่ตรงกันคือ "เมื่อม้วนตะกรุดหนังหน้าผากเสือเสร็จแล้ว ท่านหลวงปู่นาคท่านจะเอาด้ายสายสินเส้นเล็กๆสีขาวมาควั้นเพื่อยึดตะกรุดหนังหน้าผากเสือของท่านไว้เพื่อไม่ให้คลายตัวออก" จึงได้ลงบันทึกการสร้างตะกรุดหนังหน้าผากเสือของท่านหลวงปู่นาค วัดอรุณ ที่ถูกต้องนี้ไว้ เพื่อมิให้ขั้นตอนการสร้างตะกรุดหนังหน้าผากเสือของหลวงปู่นาค วัดอรุณที่ถูกต้องได้สูญหายไป
ขอขอบคุณข้อมูลดีๆและภาพถ่ายจาก คุณอนุสิษฐ์ บุญมาก ซึ่งคุณตาของคุณอุสิษฐ์ทั้งสามท่านเคยมาเป็นเด็กวัดดูแลรับใช้อยู่กับหลวงปู่นาค ที่วัดสุทัศน์ตลอดจนถึงวัดอรุณ ท่านทั้งสามได้เล่าเหตุการณ์ตอนที่ท่านได้มาดูแลรับใช้ท่านหลวงปู่นาคให้แก่คุณอนุสิษฐ์ฟังอย่างละเอียด เริ่มแรกคือคุณตากุ(เสียชีวิตแล้ว) ตอนที่อยู่วัดสุทัศน์ ปี พ.ศ. 2463 และต่อมาเป็นคุณตาม้วน(เสียชีวิตแล้ว)และตามิ่ง(ยังมีชีวิตอยู่ ปัจจุบันอายุเก้าสิบกว่าปี) สองท่านหลังตามท่านหลวงปู่นาค มาจากปทุมธานี หลังจากที่ท่านหลวงปู่นาคไปเป็นแม่งานจัดงานศพปลงให้กับท่านพระอาจารย์ของท่านคือ หลวงปู่สว่าง วัดเทียนถวาย ที่ปทุมธานี เมื่อปี พ.ศ. 2476 ท่านที่สองที่ทางทีมงานกระฉ่อนต้องขอขอบคุณคือ คุณวิทย์ วัดอรุณ ที่ได้ให้ข้อมูลเชิงลึกบางส่วนที่ท่านได้ฟังจากคุณลุงกวี อรรถโกวิท(เสียชีวิตแล้ว) ซึ่งคุณลุงกวีท่านก็ได้ฟังตกทอดมาจาก คุณปู่กร อรรถโกวิท(เสียชีวิตแล้ว) พ่อของท่านซึ่งเป็นคนเก่าคนแก่ผู้รู้จริงและทันในเหตุการสร้างวัตถุมงคลของ หลวงปู่นาค และวัตถุมงคลของวัดอรุณในยุคก่อนปี พ.ศ.2500 อีกหลายรุ่นหลายพิธี และคุณวิทย์ วัดอรุณ(อัครวิทย์ รัตนประสิทธิ์) ยังได้เอื้อเฟื้อภาพวัตถุมงคแท้ๆของ หลวงปู่นาค วัดอรุณ ที่หาชมได้ยากแล้วในปัจจุบันนี้มาให้ชมกัน
ขอบันทึกไว้เพื่อเป็นอนุสรณ์และเทอดเกียรติคุณแด่ ท่านพระพิมลธรรม(นาค สุมนนาโค) พระผู้เป็นที่รักและเคารพยิ่งของพวกเราชาววัดอรุณ บันทึกเมื่อ วันที่ 19 กันยายน พ.ศ.2556
ร่วมบันทึกโดย วิทย์ วัดอรุณ
หนังสือพิมพ์กะฉ่อนดอมคอม แว่น วัดอรุณ รายงาน
.......
บารมีเหรียญพระเจ้าตากชาววัดอรุณ รุ่นกรุงธนบุรี ช่วยชีวิตหนุ่มใหญ่ให้รอดตายจากเหตุรถพลิกคว่ำ
https://sacred.kachon.com/353935
.......
ประมวลปาฏิหาริย์แห่งเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชชาววัดอรุณ(คลิ๊ก)
https://sacred.kachon.com/353522
.....
ร้านเช่าบูชาวัตถุมงคล by กะฉ่อนดอทคอม(คลิ๊ก)
https://shop.kachon.com
ชมภาพทั้งหมด คลิ๊ก
ชมคลิปทั้งหมด คลิ๊ก
ชมภาพทั้งหมด คลิ๊ก
ชมคลิปทั้งหมด คลิ๊ก