ข่าวประวัติความเป็นมาของพระกรุวัดท้ายตลาด หรือ วัดโมลีโลกยาราม เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพฯ  - kachon.com

ประวัติความเป็นมาของพระกรุวัดท้ายตลาด หรือ วัดโมลีโลกยาราม เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพฯ 
วัตถุมงคลคณาจารย์ รุ่นต่างๆ

photodune-2043745-college-student-s

ประวัติความเป็นมาของพระกรุวัดท้ายตลาด หรือ วัดโมลีโลกยาราม เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพฯ 

กรุท้ายตลาด มีที่มาจากพระวัดท้ายตลาด หรือวัดโมลีโลกยาราม ตั้งอยู่ริมน้ำ ซอยวังเดิม ๖ ถนนอรุณอมรินทร์ แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร ซึ่งพระของกรุนี้มีเนื้อหาละม้ายคล้ายเหมือนพระสมเด็จปิลันทน์ โดยพระกรุวัดท้ายตลาดเป็นพระเนื้อผงผสมผงใบลานเผาเช่นเดียวกัน และมีคราบไขคล้ายกันเป็นอย่างมาก พระกรุวัดท้ายตลาดมีพุทธคุณโดดเด่นในทางโชคลาภ ค้าขาย และแคล้วคลาด นอกจากนั้นตามคติโบราณเรื่องทำมาค้าขายนั้นก็มักนิยมนำนางกวักมาไว้เพื่อเรียกทรัพย์เรียกลูกค้า

พระกรุวัดท้ายตลาดก็มีพิมพ์นางกวัก และพระพิมพ์พุทธกวักด้วย ในส่วนของพิมพ์นางกวักนั้นสวยงามมาก เป็นรูปนางกวักไว้ผมทรงดอกกระทุ่มแสกกลาง ห่มสไบเฉียง นุ่งโจงกระเบน นั่งพับเพียบ และมีม่านอยู่ที่ด้านข้าง ศิลปะฝีมือช่างหลวง แต่พิมพ์นี้ก็หายากสักหน่อยไม่ค่อยได้พบเห็นนัก ในด้านพุทธคุณดีทางด้านเมตตามหานิยม โภคทรัพย์เป็นเลิศ และทางด้านแคล้วคลาด ทำให้มีนักสะสมเป็นจำนวนมากที่ต้องการในพระกรุท้ายตลาดในชุดนี้

วัดท้ายตลาด เป็นวัดโบราณแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา ตั้งอยู่ใต้พระราชวังเดิมปากคลองบางกอกใหญ่ฝั่งเหนือ ในแผ่นดินพระเจ้ากรุงธนบุรี วัดนี้อยู่ในเขตพระราชฐาน จึงไม่มีพระจำพรรษา ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๑ ทรงโปรดเกล้าฯ ให้พระมหาศรี วัดราชสิทธิ์ เป็นพระเทพโมลี แล้วให้มาครองวัดนี้ ต่อมาจึงได้เลื่อนเป็นพระพุทธโฆษาจารย์ ต่อมาในรัชกาลที่ ๒ ทรงเปลี่ยนนามพระอารามเป็นวัดพุทไธศวรรยาวาส ถึงแผ่นดินรัชกาลที่ ๓ ทรงโปรดฯ ให้ปฏิสังขรณ์พระอารามโดยตลอด พร้อมกับพระอารามอื่นๆอีก และทรงเปลี่ยนนามเป็นวัดโมลีโลกยารามมาจนทุกวันนี้

ณ วัดท้ายตลาดแห่งนี้ยังเคยเป็นสถานศึกษาของพระราชโอรสในรัชกาลที่ 2 อนึ่ง สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ขุน สมัยเป็นพระพุทธโฆษาจารย์ก็เป็นพระกรรมวาจาจารย์ของรัชกาลที่ 3 และถวายพระอักษร รัชกาลที่ 4 เมื่อสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ขุน มรณภาพลง รัชกาลที่ 3 ทรงโปรดฯ ให้หล่อรูปประดิษฐานไว้ในหอที่ทรงสร้างไว้ในวัดเรียกกันว่า "หอสมเด็จ" (ทรงโปรดฯ ให้หล่อพร้อมกับพระรูปสมเด็จพระสังฆราชญาณสังวร สุก ไก่เถื่อน ที่วัดราชสิทธาราม) ผู้ที่สร้าง พระวัดท้ายตลาด นี้ท่านอาจารย์ตรียัมปวายได้บันทึกไว้ว่า สร้างโดยพระวิเชียรมุนีอดีตเจ้าอาวาสองค์ก่อน ท่านเจ้าคุณสนิท พร้อมกับหลวงพ่อแย้มและหลวงพ่อกลิ่น พระอาจารย์สายกัมมัฏฐานผู้ทรงกิตติคุณของพระอารามนี้ พระกรุวัดท้ายตลาดได้สร้างไว้ในปี พ.ศ. 2431

ท่านเจ้าคุณสนิทสมณคุณ(เงิน เขมจารี) อดีตเจ้าอาวาส วัดท้ายตลาด เกิดที่เมืองพระตะบอง เมื่อปี พ.ศ.2396 ท่านมีความสนิทสนมกับ พระยาคทาธร ธรณินทร์ (ชุ่ม อภัยวงศ์) ต่อมาท่านจึงย้ายมาอยู่ที่วัดท้ายตลาด เจ้าคุณสนิทนอกจากจะเชี่ยวชาญทางด้านวิทยาคมแล้ว ยังมีความรู้เชี่ยวชาญทางด้านแพทย์แผนโบราณด้วย และได้ช่วยรักษาชาวบ้านจนมีชื่อเสียงโด่งดังมากในสมัยนั้น ชาวบ้านต่างเลื่อมใสศรัทธาในตัวท่านมาก และช่วยบูรณปฏิสังขรณ์วัดท้ายตลาดตลอดมา ท่านเจ้าคุณสนิท มรณภาพราวปี พ.ศ.2463 สิริอายุได้ 68 ปี

การเปิดกรุวัดท้ายตลาด
การเปิดกรุนั้น วัดท้ายตลาดได้ถูกคนร้ายลักลอบเจาะมาช้านานแล้ว และทางวัดก็ได้ซ่อมแซมอยู่เสมอ ครั้นต่อมาใน พ.ศ. ๒๔๘๕ คราวกรณีพิพาทอินโดจีน ฝรั่งเศส ทางราชการกระทรวงกลาโหมได้มีหนังสือขอพระเครื่องมายังวัดนี้ด้วย เพื่อมอบให้แก่ทหารและตำรวจสนามเช่นเดียวกับที่ขอไปยังวัดต่างๆ พระประสิทธิสีลคุณ เจ้าอาวาสในสมัยนั้นจึงได้ดำริให้ขุดกรุพระเจดีย์รายในวัด และได้พระเครื่องออกมาเป็นอันมาก ทั้งได้พบพระเครื่องอีกส่วนหนึ่งซึ่งบรรจุไว้ในปีบบัดกรี บนเพดานพระอุโบสถและเพดานหอสมเด็จฯ รวบรวมได้ทั้งสิ้นหลายพันองค์ และได้มอบให้แก่ทางราชการไปส่วนหนึ่ง พระกรุวัดท้ายตลาดที่พบเป็นพระเนื้อผงใบลาน พิมพ์ต่างๆ แต่ละพิมพ์ล้วนสวยงามด้วยศิลปะเป็นอย่างยิ่ง นอกจากนี้ยังได้พบพระแบบเดียวกันที่วัดนางชี คลองบางหลวง และที่วัดหงษ์ บางกอกใหญ่อีกด้วย แสดงว่าพระวัดท้ายตลาดนั้นคงจะมีการบรรจุไว้ตามกรุต่างๆ หลายวัดด้วยกัน

พิมพ์แบบต่างๆของกรุวัดท้ายตลาด
พระวัดท้ายตลาดมีด้วยกันหลายพิมพ์ และที่กรุแตกก็พบว่ามีจำนวนมากถึง ๔๘,๐๐๐ องค์เป็นอย่างน้อย จำแนกพิมพ์พระกรุวัดท้ายตลาดเท่าที่ปรากฏมีมากกว่า ๕๐ พิมพ์ มีพุทธลักษณะต่างกันในหลากหลายอิริยาบถ แต่พระกรุวัดท้ายตลาด ที่นิยมและเป็นที่รู้จักได้พบเห็นบ่อยๆ มีดังนี้ คือ พระวัดท้ายตลาด พิมพ์พระปิดตาขัดสมาธิเพชร พระพิมพ์แม่พระธรณีเป็นมวยผม สี่เหลี่ยมใหญ่ พระพิมพ์แม่พระธรณีเป็นมวยผม ห้าเหลี่ยม พระพิมพ์นางกวัก สี่เหลี่ยม พระพิมพ์พุทธนางกวัก พระพิมพ์ป่าเลไลยก์ใหญ่ พระพิมพ์ป่าเลไลยก์เล็ก พระวัดท้ายตลาด พระพิมพ์นาคปรกเต็มองค์ พระวัดท้ายตลาด พระพิมพ์ครึ่งองค์ พระพิมพ์สังกัจจายน์ พระพิมพ์ซุ้มปราสาท พระพิมพ์สมาธิแหวกม่าน พระพิมพ์เล็บมือ พระพิมพ์ยืนอุ้มบาตร พระพิมพ์ยืนห้ามสมุทร พระพิมพ์ยืนถวายเนตร พระพิมพ์ยืนรำพึง พระพิมพ์โมคคัลลาน์-สารีบุตร พระพิมพ์พระเจดีย์ พระพิมพ์มารวิชัย ข้างเส้น พระพิมพ์มารวิชัย ข้างเม็ด พระพิมพ์สมาธิเล็ก พระพิมพ์สมาธิข้างกนก พระพิมพ์หยดแป้ง พระพิมพ์สมาธิบัวสองชั้น และพระพิมพ์ปางไสยาสน์ ซึ่งนับรวมได้ทั้งสิ้น ๒๖ แบบพระพิมพ์ที่เป็นที่นิยมนั่นเอง

หนังสือพิมพ์กะฉ่อนดอทคอม แว่น วัดอรุณ รายงาน

.......

ศาลาอรุณนราภิรมย์ ศูนยฺ์ร่วมบุญสั่งจองบูชา เหรียญพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี วัดอรุณราชวราราม(คลิ๊ก)

เนื้อทองแดงหน้าเงินลงยา ขนาด 3.5 เซนติเมตร เหรียญพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี รายได้สมทบกองทุนการศึกษาสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช วัดอรุณราชวราราม(คลิ๊ก)

สุดยอดมวลสารในพระผงสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี เนื้อผงพุทธคุณ 108 ชนิดฝังตะกรุดทองคำ 1 คู่ และแบบฝังตะกรุดเงิน 1 คู่(คลิ๊ก)

ชุดกรรมการ จัดรวม 100 ชุด (หมายเลขเดียวกัน) เหรียญพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี วัดอรุณราชวราราม(คลิ๊ก)

เหตุผลหลักสำคัญในการในการจัดสร้างวัตถุมงคลพญายักษ์วัดแจ้ง รุ่นมหาบารมี เพื่อร่วมบุญสมทบทุนโครงการบูรณะปฏิสังขรณ์ถนนโบราณและปรับปรุงระบบสาธารณูปโภคภายในวัดอรุณราชวราราม (คลิ๊ก)

ผงพุทธคุณมหาบารมี เศรษฐีพันล้าน สุดยอดมวลสารแห่งยุคที่บรรจุใต้ฐาน รูปหล่อพญายักษ์วัดแจ้ง รุ่นมหาบารมี ขนาด 4 นิ้ว และขนาด 1.5 นิ้ว เนื้อทองคำ เนื้อเงิน เนื้อนวะแก่เงิน (คลิ๊ก)

ประมวลปาฏิหาริย์แห่งเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชชาววัดอรุณ (คลิ๊ก)

บารมีเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชชาววัดอรุณ รุ่นกรุงธนบุรี เนื้อทองแดงลงยา ลายธงชาติ ช่วยชีวิตหนุ่มใหญ่ให้รอดตายจากเหตุรถพลิกคว่ำหลายตลบพุ่งชนเสาบอกทาง (คลิ๊ก)

บารมีเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชชาววัดอรุณ รุ่นกรุงธนบุรี คุ้มครองชีวิต (คลิ๊ก)