ประวัติการสร้างพระเครื่อง หลวงพ่อโบสถ์น้อย วัดอมรินทรารามวรวิหาร รุ่นแรก ปี พ.ศ.๒๔๘๘
วัตถุมงคลคณาจารย์ รุ่นต่างๆ
พระผงพิมพ์สามเหลี่ยม หลวงพ่อโบสถ์น้อย วัดอัมรินทราราม รุ่นแรก ปี 2488 (หายาก)
ประวัติการสร้างพระเครื่อง หลวงพ่อโบสถ์น้อย วัดอมรินทรารามวรวิหาร รุ่นแรก ปี พ.ศ.๒๔๘๘
พระเครื่องหลวงพ่อโบสถ์น้อย วัดอมรินทรารามวรวิหาร รุ่น พ.ศ. ๒๔๘๘ พุทธลักษณะ องค์พระประทับนั่งขัดสมาธิราบบนบัลลังก์ฐานหน้ากระดานบัวชั้นเดียว ภายในซุ้มเรือนแก้ว(ข้างยัก) รูปสามเหลี่ยม ปางมารวิชัย ศิลปะสมัยรัตนโกสินทร์ จำลองสมมุติเป็นองค์หลวงพ่อโบสถ์น้อย ผู้ที่ออกแบบแกะแม่พิมพ์คือ พระสมุห์ชุ่ม สุวณฺณสโร ประธานกรรมการคณะสงฆ์วัดอมรินทราราม ที่ทำมีสีอิฐเป็นส่วนมาก ด้านหลังเป็นรูปโบสถ์ วัสดุที่ใช้สร้างเป็นดินเผาผสมเม็ดพระศกเก่าๆของหลวงพ่อโบสถ์น้อยที่หลุดร่วงลงมา
ด้านหน้า พระหลวงพ่อโบสถ์น้อย วัดอมรินทราราม รุ่นแรก พิมม์สามเหลี่ยม ปี 2488
ซึ่งทางวัดได้เก็บรักษาไว้ และดอกไม้ต่างๆที่ตากแห้ง ที่ประชาชนนำมาถวายแก่องค์หลวงพ่อโบสถ์น้อย จำนวนที่สร้างประมาณ ๔,๐๐๐ องค์ และยังมีแบบสามเหลี่ยมและสี่เหลี่ยมเป็นเนื้อผงเนื้อหาออกสีเขียวทำแจกเฉพาะกรรมการจึงมีจำนวนการสร้างที่ไม่มากนัก สถานที่ทำพิธีปลุกเสกเหรียญและพระเครื่องหลวงพ่อโบสถ์น้อย ทั้ง ๒ อย่าง ดังกล่าวมาได้ทำพิธีปลุกเสกในคราเดียวกันเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๘ ภายในบริเวณพระอุโบสถหลังใหญ่ของวัดอมรินทราราม หลังจากงานพิธีของหลวงพ่อสิ้นเสร็จไป
ด้านหลัง พระหลวงพ่อโบสถ์น้อย วัดอมรินทราราม รุ่นแรก พิมม์สามเหลี่ยม ปี 2488
พระเกจิอาจารย์ผู้เข้าร่วมพิธีการและพิธีปลุกเสกเหรียญและพระเครื่องหลวงพ่อโบสถ์น้อย รุ่นปี พ.ศ.๒๔๘๘ เป็นพระเกจิอาจารย์ผู้เรืองวิทยาคมในยุคนั้นอย่างมากมายหลายองค์ เช่น ๑. หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ๒. หลวงพ่อจาด วัดบางกะเบา จังหวัดปราจีนบุรี ๓. หลวงพ่อแฉ่ง วัดบางพัง จังหวัดนนทบุรี
๑. หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ๒. หลวงพ่อจาด วัดบางกะเบา จังหวัดปราจีนบุรี ๓. หลวงพ่อแฉ่ง วัดบางพัง จังหวัดนนทบุรี
รายนามประธานและคณะกรรมการผู้ดำเนินการ ๑.พระสมุห์ชุ่ม สุวณฺณสโร(กรรมการคณะสงฆ์วัดอมรินทราราม) ประธานฝ่ายสงฆ์ ๒. นายทองอยู่ พุฒพัฒน์ อดีต ส.ส.จังหวัดธนบุรี ประธานฝ่ายคฤหัสถ์ ๓.หลวงเสียงเสนาะกรรณ(พันมุกตวาภัย) กรรมการ ๔.นายฟุ้ง อ้นเจริญ(นายช่างหล่อพระพุทธรูปแห่งบ้านช่างหล่อ) กรรมการ มูลเหตุที่สร้างเหรียญและพระเครื่องหลวงพ่อโบสถ์น้อยในคราวนั้น เพื่อไว้แจกสมนาคุณแก่ท่านผู้มีจิตศรัทธาบริจาคทรัพย์ ในการกุศลสมทบทุนสร้างโบสถ์น้อยหลังใหม่ขององค์หลวงพ่อ ไม่ได้กำหนดราคาแต่อย่างใด แล้วแต่ศรัทธาของผู้บริจาค
ประวัติหลวงพ่อโบสถ์น้อย วัดอมรินทรารามวรวิหาร เขตบางกอกน้อย กรุงเทพ
ประวัติหลวงพ่อโบสถ์น้อยไม่ปรากฏหลักฐานความเป็นมาแน่ชัดว่าใครเป็นผู้สร้างและสร้างในสมัยใด แต่จากคำบอกเล่าสืบต่อกันมาว่า เดิมหลวงพ่อโบสถ์น้อยเป็นพระพุทธรูปที่หล่อด้วยทองสำริด มีขนาดไม่ใหญ่นัก แต่จะมีขนาดเท่าใดและเป็นพระพุทธรูปสมัยใดนั้นไม่ปรากฏแน่ชัด สันนิษฐานว่าหลวงพ่อโบสถ์น้อยคงจะเป็นพระพุทธรูปสำคัญที่มีความศักดิ์สิทธิ์ ชาวบ้านจึงมีความเลื่อมใสศรัทธาและอัญเชิญมาประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถ วัดอมรินทรารามวรวิหาร แต่ด้วยเหตุที่องค์พระพุทธรูปมีขนาดเล็ก ไม่สมกับพระอุโบสถที่มีความกว้างขวางใหญ่โต ดังนั้นชาวบ้านจึงได้คิดหากลอุบายด้วยการปั้นปูนพอกทับอำพรางองค์จริงของพระพุทธรูปเอาไว้ เพื่อให้มีขนาดที่เหมาะสมกับพระอุโบสถ ซึ่งขณะนั้นมีขนาดยาวถึง 4 ห้อง
ครั้นต่อมาถึงปี พ.ศ. 2441 ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ ให้ตัดเส้นทางรถไฟสายใต้ เริ่มจากปากคลองบางกอกน้อยไปทางนครปฐม มีผลให้พื้นที่ด้านหน้าวัดอมรินทรารามตรงปากคลองบางกอกน้อยถูกตัดตอนเป็นทางรถไฟ วางรางรถไฟเฉียดผ่านพระอุโบสถของวัดจนถึงกับต้องรื้อด้านหน้าของพระอุโบสถออกไปเสียห้องหนึ่ง เหลือเพียง 3 ห้องเท่านั้น ทำให้พระอุโบสถมีขนาดเล็กลง ชาวบ้านจึงเรียกว่าโบสถ์น้อย และคงจะเรียกชื่อพระประธานในพระอุโบสถโดยอนุโลมว่าหลวงพ่อโบสถ์น้อยด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ตามยังคงมีเรื่องเล่ากันถึงความมหัศจรรย์ของหลวงพ่อโบสถ์น้อยที่ได้แสดงปาฏิหาริย์ให้ประจักษ์แก่ประชาชนโดยทั่วไป กล่าวคือ เมื่อครั้งที่นายช่างฝรั่งมาส่องกล้องเพื่อดำเนินการตัดทางสำหรับวางรางรถไฟนั้นเมื่อส่องกล้องแล้ว พบว่าเส้นทางนั้นจะต้องถูกพระอุโบสถและองค์พระพุทธรูปพอดี ในคราวนั้นกล่าวกันว่า ได้เกิดอาเพศเหตุการณ์ต่างๆ ขึ้นจนนายช่างฝรั่งไม่สามารถที่จะทำการตัดเส้นทางให้เป็นแนวตรงได้ จึงจำเป็นต้องเปลี่ยนเส้นทางใหม่เป็นแนวอ้อมโค้งดังปรากฏให้เห็นในปัจจุบัน
ต่อมาเมื่อเกิดสงครามมหาเอเชียบูรพาขึ้น เครื่องบินข้าศึกได้มาทิ้งระเบิดเพลิงเพื่อทำลายย่านสถานีรถไฟธนบุรี แต่เนื่องจากสถานีรถไฟกับวัดมีเขตติดต่อกันจึงทำให้ปูชนียวัตถุสถานต่างๆ ภายในวัดอมรินทรารามถูกไฟเผาทำลายเป็นส่วนมาก แม้แต่พระอุโบสถซึ่งเป็นที่ประดิษฐานหลวงพ่อโบสถ์น้อยก็ได้รับความเสียหายในครั้งนี้ด้วย ดังปรากฏว่ามีหลุมระเบิดอยู่รอบๆ พระอุโบสถ ในส่วนของเชิงชายพระอุโบสถก็ถูกไฟไหม้ แต่ในที่สุดไฟก็ดับได้เองเหมือนปาฏิหาริย์ และจากความรุนแรงของลูกระเบิดที่ตกลงมารอบพระอุโบสถครั้งนี้ เป็นผลให้พระเศียรของหลวงพ่อโบสถ์น้อยที่ปั้นด้วยปูนถึงกับหักพังลงมา ในครั้งนั้นทางวัดได้นำพระเศียรของหลวงพ่อโบสถ์น้อยไปฝากไว้ยังวัดอรุณราชวรารามเป็นการชั่วคราว
เมื่อสงครามยุติลง วัดอมรินทรารามอยู่ในสภาพที่ชำรุดทรุดโทรมมากทางวัดจึงได้เริ่มดำเนินการบูรณปฏิสังขรณ์ปูชนียวัตถุสถานต่างๆ ให้กลับมีสภาพดีดังเดิม ส่วนพระอุโบสถหลังเก่าอยู่ในสภาพเสียหายมาก จึงได้ดำเนินการก่อสร้างพระอุโบสถหลังใหม่ขึ้นแทนในปี พ.ศ. 2504 พระอุโบสถหลังเก่า ซึ่งเรียกกันว่าโบสถ์น้อยนั้น ยังคงเป็นที่ประดิษฐานของหลวงพ่อโบสถ์น้อยดังเดิม และในส่วนการซ่อมแซมองค์พระพุทธรูปนั้น ทางวัดได้อัญเชิญพระเศียรของหลวงพ่อโบสถ์น้อยกลับคืนมา เพื่อหวังที่จะต่อเข้ากับองค์พระพุทธรูป แต่เมื่อพิจารณาแล้วเห็นว่าพระเศียรของหลวงพ่อแตกร้าวเป็นส่วนใหญ่ จึงตกลงที่จะปั้นพระเศียรของหลวงพ่อขึ้นใหม่โดยให้คงเค้าพระพักตร์เดิมไว้ เล่ากันว่าครั้งนั้นทางวัดได้เชิญบรรดาท่านผู้เฒ่าในบ้านชางหล่อมาหลายท่าน เพื่อปรึกษาหารือเกี่ยวกับการดำเนินการปั้นพระเศียรหลวงพ่อขึ้นใหม่ ในที่สุดจึงเห็นควรให้ นายช่างโต ขำเดช เป็นผู้รับผิดชอบในการปั้นพระเศียร เนื่องจากเป็นผู้ที่เคยอุปสมบทในวัดอมรินทรารามมาหลายพรรษา จึงมีความคุ้นเคยในเค้าพระพักตร์หลวงพ่อโบสถ์น้อยมากกว่าผู้ใด
ต่อมาใน พ.ศ. 2523 ได้มีการบูรณะหลวงพ่อโบสถ์น้อยขึ้นอีกครั้งหนึ่ง เนื่องจากองค์พระพุทธรูปมีสภาพชำรุดหลายแห่ง ครั้งนั้นได้ทำการฉาบปูนลงรักปิดทองใหม่หมดทั้งองค์ พร้อมกันนี้ก็ได้บูรณะพระอุโบสถโดยการเปลี่ยนกระเบื้องมุงหลังคาและซ่อมแซม ส่วนต่างๆ ที่ชำรุดทรุดโทรมในคราวเดียวกันเมื่อแล้วเสร็จจึงได้มีการเฉลิมฉลองสมโภช ประเพณีงานนมัสการหลวงพ่อโบสถ์น้อยประจำปีก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 นั้นจะจัดในเดือนเมษายน(ราวกลางเดือน 5) แต่ในปัจจุบันกำหนดให้วันที่ 29 พฤศจิกายน ของทุกปี เป็นวันนมัสการประจำปีขององค์หลวงพ่อโบสถ์น้อย เพื่อระลึกว่าในวันดังกล่าวได้เกิดเหตุการณ์สำคัญที่หลวงพ่อโบสถ์น้อยถูกภัยทางอากาศ เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2
ท่านผู้ศรัทธาในองค์หลวงพ่อโบสถ์น้อย วัดอมรินทรารามวรวิหาร สามารถเดินทางไปกราบไหว้บูชาขอพรท่านเพื่อความศิริมงคลแก่ชีวิตและครอบครัว สามารถเดินทางมาที่ วัดอมรินทรารามวรวิหาร เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ ทางวัดเปิดให้ท่านผู้ศรัทธากราบไหว้ขอพรองค์หลวงพ่อ ในเวลา 07.00 น. และปิดในเวลา 17.00 น. ของทุกวัน
หนังสือพิมพ์กะฉ่อนดอทคอม แว่น วัดอรุณ รายงาน
.......
ประมวลปาฏิหาริย์แห่งเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชชาววัดอรุณ (คลิ๊ก)
บารมีเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชชาววัดอรุณ รุ่นกรุงธนบุรี คุ้มครองชีวิต (คลิ๊ก)
ประมวลปาฏิหาริย์แห่งเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชชาววัดอรุณ (คลิ๊ก)
ปาฏิหาริย์อีกครั้ง เหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชชาววัดอรุณ ช่วยชีวิตคุณยายวัย 73 ปี ให้รอดตายอย่างน่าอัศจรรย์ใจ (คลิ๊ก)พระธรรมรัตนดิลก เจ้าอาวาสวัดอรุณ พระผู้สร้างเหรียญพระเจ้าตากชาววัดอรุณ หนึ่งเดียวในตำนานประวัติศาสตร์กรุงธนบุรี (คลิ๊ก)
สแกน QR Code เพื่อการเที่ยวชมความจริงของวัดอรุณราชวรารามแบบจำลองความจริงทั้งพระบถ
QR Code เพื่อการสำรวจความงามของวัดอรุณทั้งพระอาราม.
QR 碼以探索黎明寺的美麗。整個修道院。