ประวัติการสร้างตะกรุดหนังหน้าผากเสือ หลวงปู่นาค วัดอรุณ สุดยอดพระเกจิผู้เรืองวิทยาคมวัดอรุณราชวราราม(มีคลิป)
วัตถุมงคลคณาจารย์ รุ่นต่างๆ
ประวัติการสร้างตะกรุดหนังหน้าผากเสือ หลวงปู่นาค วัดอรุณ สุดยอดพระเกจิผู้เรืองวิทยาคมวัดอรุณราชวราราม(มีคลิป)
หลวงปู่นาค วัดอรุณ หรือ พระเดชพระคุณพระพิมลธรรม อดีตเจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม รูปที่ 10 เกิดเมื่อวันที่ 3 มกราคม พ.ศ.2415 ที่บ้านบางพูน จังหวัดปทุมธานี ท่านคือสุดยอดพระเกจิผู้เรืองวิทยาคมแห่งวัดอรุณราชวราราม มีความรู้ทั้งในด้านพระปริยัติธรรมและวิปัสสนากรรมฐาน
ท่านได้ศึกษาวิชาวิทยาคมต่างๆมาจาก หลวงพ่อหว่าง วัดเทียนถวาย ผู้เป็นพระอาจารย์ของท่านจนหมดสิ้น ทั้งวิชาสร้างตะกรุดหนังหน้าผากเสือ วิชาลงผ้าประเจียดแดง ซึ่งเป็นวิชาที่ลือเลื่องของหลวงพ่อหว่าง เล่ากันว่าขนาดมีนกมาเกาะอยู่ในบริเวณวัด เคยมีคนแอบมาลองยิงยังยิงไม่ออก
ตะกรุดหลวงปู่นาค วัดอรุณ ที่ชนะการประกวดมาสองงานของ คุณวิทย์ วัดอรุณ
หลวงปู่นาคท่านได้สร้างตะกรุดหนังหน้าผากเสือวัดอรุณ เพื่อไว้แจกแก่ลูกศิษย์ที่ใกล้ชิดจะไม่แจกพร่ำเพรื่อ เพราะตามตำราการทำตะกรุดหนังหน้าผากเสือของท่านหลวงปู่นาคที่ได้รับการถ่ายทอดมาจากหลวงพ่อหว่าง วัดเทียนถวายนั้น ท่านจะต้องทำพิธีปลุกเสกตะกรุดหนังหน้าผากเสือวัดอรุณของท่าน ได้เฉพาะปีที่มีเสาร์ห้าเท่านั้น
ใบประกาศที่ชนะการประกวด ตะกรุดหลวงปู่นาค วัดอรุณของ คุณวิทย์ วัดอรุณใบที่ 1
ซึ่งในสมัยนั้นหากลูกศิษย์ลูกหาคนใดอยากได้ ตะกรุดหนังหน้าผากเสือวัดอรุณของท่านเอาไว้บูชา ส่วนใหญ่จะพากันมาสั่งซื้อหนังเสือที่ร้านเจ้ากรมเป๋อหน้าวัดสามปลื้ม เหตุเพราะในสมัยนั้น ใครมีของป่าและยาสมุนไพร ก็จะนิยมนำมาขาย หรือฝากขายกันที่ร้านนี้
ใบประกาศที่ชนะการประกวด ตะกรุดหลวงปู่นาค วัดอรุณของ คุณวิทย์ วัดอรุณใบที่ 2
เมื่อได้มาแล้วจะนำส่วนหน้าผากของเสือมาตัดแบ่งตามขนาดใหญ่เล็กแล้วแต่ขนาดของหน้าผากเสือที่ได้มา ถ้าเล็กก็ประมาณ 1 นิ้ว หากใหญ่ก็ไม่เกิน 2 นิ้วต่อ 1 ชิ้นหนังหน้าผากเสือ ซื่งเสือหนึ่งตัวจะสามารถตัดแบ่งหนังหน้าผากได้ไม่กี่ชิ้น จากนั้นจะนำมาแช่น้ำเพื่อขูดขนออกให้เกลี้ยง แล้วนำมาฝนให้หนังหน้าผากเสือที่มีบางส่วนมีความหนาให้บางลง เพื่อง่ายต่อการจารและม้วนเป็นตะกรุด
ตะกรุดหนังหน้าผากเสือ หลวงปู่นาค วัดอรุณดอกนี้แบบมีเชือกควั่นลงรักปิดทองยุคต้นๆของท่านที่ทำแจกหายากมากๆของ คุณวิทย์ วัดอรุณ
เมื่อได้หนังหน้าผากเสือตามขนาดที่ต้องการแล้วก็จะนำมาถวายหลวงปู่นาค หลวงปู่นาคท่านจะทำพิธีจารอักขระเลขยันต์ตามสูตร เมื่อจารอักขระเลขยันต์เสร็จแล้ว ท่านจะทำการม้วนตะกรุดโดยใช้ด้ายสายสินเล็กๆมาควั่นโดยรอบตัวตะกรุด เพื่อมัดให้หนังเสือแห้งอยู่ตัวไม่คลายออก ซึ่งในยุดหลังๆปลายชีวิตท่านหลวงปู่นาค ท่านจะให้พระเณรหรือลูกศิษย์วัดในกุฎิของท่านทำการควั่นเชือกตะกรุดแทนท่าน
ภาพถ่ายข้าวหลามตัด หลวงปู่นาค วัดอรุณ ปี พ.ศ. 2475 ด้านหน้า-ด้านหลัง ของ คุณวิทย์ วัดอรุณ(อัครวิทย์ รัตนประสิทธิ์)
เมื่อเสร็จในขั้นตอนนี้แล้ว ก็จะทำการลงรักเพื่อรักษาให้หนังเสือมีการรัดตัวและมีอายุการใช้งานคงทนยืนนาน ซึ่งหนังเสือที่นำมาลงรักนั้นจะมีทั้งยังมีเชือกที่ควั่นไว้และไม่มีเชือกที่ควั่นไว้ก็มี และมีทั้งการลงรักแล้วปิดทองและไม่ปิดทองก็มี เมื่อเสร็จสมบูณ์เป็นตะกรุดหนังหน้าผากเสือแล้ว ท่านหลวงปู่นาค ท่านจะเริ่มปลุกเสกของท่านไปเรื่อยๆ เพื่อรอให้ถึงฤกษ์เสาร์ห้าในปีนั้นๆ จึงจะทำพิธีปลุกเสกใหญ่ในวันเสาร์ห้าอีกครั้ง
ตะกรุดหนังหน้าผากเสือ หลวงปู่นาค วัดอรุณของคุณอนุสิษฐ์ บุญมาก ที่ได้รับตกทอดจากคุณตาคุณตามิ่ง(ยังมีชีวิตอยู่) ซึ่งดอกนี้คุณตามิ่งได้รับจากมือท่านหลวงปู่นาค ในสมัยเป็นเด็กวัดที่ตามมารับใช้ท่านที่วัดอรุณหลังงานปลงศพของหลวงพ่อหว่าง วัดเทียนถวายในปี พ.ศ.2476
เมื่อเสร็จจากพิธีปลุกเสกใหญ่ในวันเสาร์ห้าแล้ว ท่านหลวงปู่นาค ท่านจึงจะทำการแจกจ่ายกับศิษย์ที่ศัทธาหรือศิษย์ที่ได้นำหนังหน้าผากเสือมาถวายไว้ให้ท่านทำพิธีให้ จะเห็นได้ว่าด้วยขั้นตอนวิธีการทำที่สลับซับซ้อนของการสร้างตะกรุดหนังหน้าผากเสือของท่านหลวงปู่นาค วัดอรุณ จึงทำให้ได้ตะกรุดหนังหน้าผากเสือวัดอรุณ ที่มีจำนวนค้อนข้างน้อย และมีจำนวนการสร้างที่มีจำนวนจำกัดเป็นอย่างยิ่ง
ตะกรุดหนังหน้าผากเสือ หลวงปู่นาค วัดอรุณของลูกชายคุณตาม้วนซึ่งเป็นคุณลุงของคุณอนุสิษฐ์ บุญมาก ที่ได้รับตกทอดจากคุณตาม้วน(เสียชีวิตแล้ว) ซึ่งดอกนี้คุณตาม้วนพี่ชายคนกลางของคุณตามิ่ง ก็ได้รับจากมือท่านหลวงปู่นาค ในสมัยเป็นเด็กวัดที่ตามมารับใช้ท่านที่วัดอรุณหลังงานปลงศพของหลวงพ่อหว่าง วัดเทียนถวายในปี พ.ศ.2476
จึงทำให้เป็นที่ใฝ่หาของบรรดาท่านที่นิยมศรัทธาในองค์หลวงปู่นาค วัดอรุณ เป็นอย่างยิ่ง จนมาถึงในยุคปัจจุบันนี้ จะหาตะกรุดหนังหน้าผากเสือวัดอรุณ ของท่านดอกจริงๆ ชมกันได้ยากยิ่ง ตะกรุดหนังหน้าผากเสือของท่านหลวงปู่นาค วัดอรุณ นั้นเข้มขลัง มีประสบการณ์มากมาย ถึงขนาดใครใส่ตะกรุดหนังหน้าผากเสือของท่าน เดินผ่านคอกวัวควายในสมัยนั้น วัวควายยังตื่นกลัววิ่งหนีแตกตื่นกันอย่างลนลาน
เด็กชายทั้งสามท่านในภาพนี้ เคยไปรับใช้อยู่กับหลวงปู่นาค เริ่มแรกเป็นคุณตากุ ตอนอยู่วัดสุทัศน์ ปี 2463 และตามมาคุณตาม้วน ตามิ่ง ประมาณปี 2476 หลังจัดงานศพท่านอาจารย์ท่าน หลวงปู่สว่าง วัดเทียนถวาย ปทุมธานีทั้งสามท่านนี้เป็นคุณตาของ คุณอนุสิษฐ์ บุญมาก
หมายเหตุ ขั้นตอนการสร้างตะกรุดหนังหน้าผากเสือของท่านหลวงปู่นาค วัดอรุณ ทั้งหมดที่ได้กล่าวมานี้ เป็นเรื่องที่ผู้เขียนสงสัยมาหลายสิบปี เพราะเป็นเพียงการได้รับฟังมาจากคุณลุงกวี อรรถโกวิท ซึ่งท่านก็ได้รับฟังมาจากคุณปู่กร อรรถโกวิท ซึ่งเป็นบิดาของท่านอีกทีหนึ่ง จึงยังมีข้อสงสัยในใจอยู่อีกหลายอย่าง
แต่เมื่อได้มารู้จักกับคุณอนุสิษฐ์ บุญมาก ซึ่งคุณตาทั้งสามท่านของคุณอนุสิษฐ์ บุญมาก ท่านเคยมารับใช้ท่านหลวงปู่นาคอยู่ที่วัดอรุณในสมัยที่ท่านหลวงปู่นาคท่านยังมีชีวิตอยู่ คือ 1.คุณตากุ 2.คุณตาม้วน 3.คุณตามิ่ง ก่อนที่พวกท่านและชาวปทุมธานีอีกหลายท่าน จะเดินทางกลับไปอยู่ที่วัดเทียนถวาย เมื่อท่านหลวงปู่นาคท่านได้มรณะภาพลง
ผู้เขียนจึงได้ไหว้วานขอให้คุณอนุสิษฐ์ บุญมากไปช่วยสอบถามถึงขั้นตอนการสร้างตะกรุดหนังหน้าผากเสือของท่านหลวงปู่นาค วัดอรุณ จากคุณตามิ่งให้อีกครั้ง เพื่อยืนยันถึงสิ่งที่ได้รับรู้มาจากคุณลุงกวี อรรถโกวิท ว่าจะตรงกันหรือไม่(ซึ่งขณะที่ทำการบันทึกนี้ คุณตามิ่งท่านยังมีชีวิตอยู่)
ก็ได้ข้อมูลที่ตรงกันคือ "เมื่อม้วนตะกรุดหนังหน้าผากเสือเสร็จแล้ว ท่านหลวงปู่นาคท่านจะเอาด้ายสายสินเส้นเล็กๆสีขาวมาควั้นโดยรอบตัวตะกรุด เพื่อยึดตะกรุดหนังหน้าผากเสือของท่านไว้เพื่อไม่ให้คลายตัวออก" จึงได้ลงบันทึกการสร้างตะกรุดหนังหน้าผากเสือของท่านหลวงปู่นาค วัดอรุณ ที่ถูกต้องนี้ไว้ เพื่อมิให้ขั้นตอนการสร้างตะกรุดหนังหน้าผากเสือของหลวงปู่นาค วัดอรุณที่ถูกต้องได้สูญหายไป
ขอขอบคุณข้อมูลดีๆและภาพถ่ายจาก คุณอนุสิษฐ์ บุญมาก ซึ่งคุณตาของคุณอุสิษฐ์ทั้งสามท่านเคยมาเป็นเด็กวัดดูแลรับใช้อยู่กับหลวงปู่นาค ที่วัดสุทัศน์ตลอดจนถึงวัดอรุณ ท่านทั้งสามได้เล่าเหตุการณ์ตอนที่ท่านได้มาดูแลรับใช้ท่านหลวงปู่นาคให้แก่คุณอนุสิษฐ์ฟังอย่างละเอียด เริ่มแรกคือคุณตากุ(เสียชีวิตแล้ว) ตอนที่อยู่วัดสุทัศน์ ปี พ.ศ. 2463
และต่อมาเป็นคุณตาม้วน(เสียชีวิตแล้ว)และตามิ่ง(ยังมีชีวิตอยู่ ปัจจุบันอายุเก้าสิบกว่าปี) สองท่านหลังตามท่านหลวงปู่นาค มาจากปทุมธานี หลังจากที่ท่านหลวงปู่นาคไปเป็นแม่งานจัดงานศพปลงให้กับพระอาจารย์ของท่านคือ หลวงปู่หว่าง วัดเทียนถวาย ที่ปทุมธานี เมื่อปี พ.ศ. 2476
ท่านที่สอง ที่ทางทีมงานกระฉ่อนต้องขอขอบคุณคือ คุณวิทย์ วัดอรุณ ที่ได้ให้ข้อมูลเชิงลึกบางส่วนที่ท่านได้รับฟังจาก คุณลุงกวี อรรถโกวิท(เสียชีวิตแล้ว) ซึ่งคุณลุงกวีท่านก็ได้รับฟังตกทอดมาจาก คุณปู่กร อรรถโกวิท(เสียชีวิตแล้ว) พ่อของท่านซึ่งเป็นคนเก่าคนแก่ผู้เรื่องรู้จริง และทันในเหตุการสร้างวัตถุมงคลของ หลวงปู่นาค
และวัตถุมงคลของวัดอรุณราชวรารามในยุคก่อนปี พ.ศ.2500 อีกหลายรุ่นหลายพิธี และคุณวิทย์ วัดอรุณ(อัครวิทย์ รัตนประสิทธิ์) ยังได้เอื้อเฟื้อภาพวัตถุมงคแท้ๆของ หลวงปู่นาค วัดอรุณ ที่หาชมได้ยากยิ่งแล้วในปัจจุบันนี้มาให้ชมกัน
ขอบันทึกไว้เพื่อเป็นอนุสรณ์และเทอดเกียรติคุณแด่ ท่านพระพิมลธรรม(นาค สุมนนาโค) พระผู้เป็นที่รักและเคารพยิ่งของพวกเราชาววัดอรุณ บันทึกเมื่อ วันที่ 19 กันยายน พ.ศ.2556
บันทึกโดย วิทย์ วัดอรุณ
หนังสือพิมพ์กะฉ่อนดอมคอม แว่น วัดอรุณ รายงาน
.......
ประมวลปาฏิหาริย์แห่งเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชชาววัดอรุณ (คลิ๊ก)
บารมีเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชชาววัดอรุณ รุ่นกรุงธนบุรี คุ้มครองชีวิต (คลิ๊ก)
ประมวลปาฏิหาริย์แห่งเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชชาววัดอรุณ (คลิ๊ก)
ปาฏิหาริย์อีกครั้ง เหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชชาววัดอรุณ ช่วยชีวิตคุณยายวัย 73 ปี ให้รอดตายอย่างน่าอัศจรรย์ใจ (คลิ๊ก)พระธรรมรัตนดิลก เจ้าอาวาสวัดอรุณ พระผู้สร้างเหรียญพระเจ้าตากชาววัดอรุณ หนึ่งเดียวในตำนานประวัติศาสตร์กรุงธนบุรี (คลิ๊ก)
สแกน QR Code เพื่อการเที่ยวชมความจริงของวัดอรุณราชวรารามแบบจำลองความจริงทั้งพระบถ
QR Code เพื่อการสำรวจความงามของวัดอรุณทั้งพระอาราม.
QR 碼以探索黎明寺的美麗。整個修道院。